วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆของไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


การเปลี่ยนแปลงของภาษา

        ภาษาไทยเป็นภาษาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ภาษานั้นก็เปรียบดั่งสิ่งที่ชีวิต ที่ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปในแต่ละช่วงอายุของคน อาจจะมีหลายสาเหตุที่ทำให้ภาษานั้นเปลี่ยนแปลงไป เช่น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาไทยและภาษาถิ่น การรับคำมาจากภาษาอื่น การเพิ่มลดเสียงของคำ หรือแม้แต่การติดต่อสื่อสาร สัมพันธไมตรี การค้าขาย และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศ จึงทำให้ภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงด้านความหมาย

         คำในสมัยโบราณไม่ว่าจะเป็นสมัยสุโขทัยหรืออยุธยาเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับคำที่ใช้ในปัจจุบัน จะเห็นว่า มีการเปลี่ยนแปลงไปสองแบบ คือ
  ๑. คำที่มีความหมายเดียวกัน ใช้รูปคล้ายกัน
  ๒. คำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับสมัยปัจจุบัน
คำที่มีความหมายเดียวกันใช้รูปคล้ายกัน
จากการเปรียบเทียบคำในสมัยโบราณกับปัจจุบันพบว่า คำที่มีรูปคล้ายกัน ความหมายจะเหมือนกัน

      เช่น         รำพาย - รำเพย
                    ลูกธรรมบุตร - ลูกบุญธรรม
                    เล็ด - เม็ด
                    สะเดือน,สัตวเดือน – ไส้เดือน

คำที่มีความหมายตรงกันข้ามในสมัยสุโขทัยกับปัจจุบัน
คำบางคำในสมัยสุโขทัยเมื่อผ่านยุคผ่านสมัยมาก็ได้เปลี่ยนความหมายไปโดยสิ้นเชิง

       เช่น
                   แกล้ง =      สมัยสุโขทัย   - ตั้งใจ จงใจ
                                      ปัจจุบัน         - ไม่ทำจริง
                    แพ้    =      สมัยสุโขทัย   - ชนะ
                                      ปัจจุบัน          - สู้ไม่ได้
                    ลูกค้า   =   สมัยสุโขทัย   - ลูกน้องของพ่อค้า
                                      ปัจจุบัน          - ผู้ซื้อ
                  เมืองนอก =  สมัยสุโขทัย  - นอกเมือง
                                       ปัจจุบัน         - นอกประเทศ






การเปลี่ยนแปลงด้านสำนวน


      การเปลี่ยนแปลงด้านสำนวนมีลักษณะคล้ายกับการเปลี่ยนแปลงด้านคำ เพราะสำนวนมีลักษณะเป็นกลุ่มคำหรือวลีชนิดหนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงใดที่เกิดแก่คำก็มักจะเกิดการเปลี่ยนแปลงกับสำนวนด้วย จะขอยกตัวอย่างให้เห็นเพียง ๒ชนิด ดังนี้

๑. สำนวนสมัยสุโขทัยที่คล้ายกับสำนวนในสมัยปัจจุบัน
 เมื่อได้ศึกษาสำนวนในสมัยสุโขทัยเปรียบเทียบกับสำนวนในสมัยปัจจุบันพบว่าบางสำนวนมีลักษณะคล้ายกันทั้งสองสมัยดังตัวอย่างต่อไปนี้

ขนลุกหนังหัวพอง  -  ขนลุกขนพอง
 “แลราหูอสุรินทร์นั้นก็มีใจยินร้าย ขนลุกหนังหัวพอง...”
                                                                           (ไตรภูมิพระร่วง)
 ถูกเนื้อพึงใจ  -  ถูกอกถูกใจ 
 “เสียงนกอันชื่อว่ากรวิกนั้นไซร้ แลมีเสียงอันไพเราะ
มาถูกเนื้อพึงใจแก่ฝูงสัตว์ทั้งหลายยิ่งนักหนา”
                                                                             (ไตรภูมิพระร่วง)

เปนมลากเปนดี  -  ผู้ลากมากดี 
 “ในปีเถาะ แต่ปีนั้นมาแล ฝูงเจ้าขุนพราหมณ์เศรษฐีถอยจากเปนมลากเปนดี”
                                                                     (จารึกหลักที่ 3)
เยนเนื้อเยนใจ  -  เย็นอกเย็นใจ
       “ท่านผู้มีบุญดั่งนี้ไซร้ได้เสวยราชสมบัติ เยนเนื้อเยนใจนักหนา”
(ไตรภูมิพระร่วง)

๒. สำนวนสมัยสุโขทัยที่ปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่ในภาษาถิ่นต่างๆ
  สำนวนบางสำนวนในสมัยสุโขทัยนั้นยังคงใช้อยู่ในภาษาถิ่นต่างๆด้วยถ้อยคำอย่างเดียวกันและมีความหมายเหมือนกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
กินดี
 “กลางเมืองสุโขทัยมีตระพังโพยสีใสกินดีดังกินน้ำโขงเมื่อแล้ง”
                                                                                       (จารึกหลักที่1)
 สำนวน “กินดี” ตามตัวอย่างนี้ ตรงกับสำนวนที่ใช้ในภาษาอีสาน
และภาษาปักษ์ใต้ หมายความว่า อร่อย
ขึ้นใหญ่
 “เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่อเมืองตาก”
                                                                      (จารึกหลักที่1)
 สำนวน “ขึ้นใหญ่” ตามตัวอย่างนี้ ตรงกับสำนวนภาษาเหนือ หมายความว่า เติบโต ใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว
สักหยาด
 “มันจึงเปนเปรต ยากเผ็ดเร็ดไร้ใหญ่หลวงนัก หาอาหารจะกินบ่มิได้เลยสักหยาดแล”
                                                                                (ไตรภูมิพระร่วง)
 สำนวน สักหยาด” ตามตัวอย่างนี้ ตรงกับสำนวนภาษาเหนือ หมายความว่าแม้แต่นิดเดียว
จะเห็นได้ว่าเมื่อได้ศึกษาเปรียบเทียบสำนวนสุโขทัยกับปัจจุบันพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงคำในสำนวนที่คล้ายคลึงกัน บางสำนวนยังคงเก็บรักษาไว้ในภาษาถิ่นต่างๆ







การเปลี่ยนแปลงของสภาพธรรมชาติในประเทศไทยและผลของการเปลี่ยนแปลงจากอดีตถึงปัจจุบัน

        ในอดีตประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ดังคำกล่าวว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" นั้นแสดงให้เห็นถึงการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย และมีความผูกพันกับธรรมชาติ   เมื่อประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับแนวโน้มการพัฒนาของประเทศที่เน้นการขยายตัวของภาคอุตสหกรรม ทำให้มีการนำเทคโนโลยีและวิธีการสมัยใหม่ ๆ  เข้ามาใช้ เพื่อนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพียงพอต่อความต้องาการของมนุษย์ ส่งผลให้มีการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย ความอุดมสมบูรณ์และคุณภาพของธรรมชาติจึงลดน้อยลง

        สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติเกิดจากสาเหตุสำคัญ ๒ ประการ ดังนี้

    ๑) เกิดจากธรรมชาติ  หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่ธรรมชาติเป็นตัวกำหนดและเป็นตัวกระทำให้เกิดขึ้น โดยอาศัยปัจจัยต่างๆ เช่น
        - เปลือกโลก การเคลื่อนไหวของเปลือกโลก ก่อให้เกิดภูเขาไฟปะทุ (ไม่พบในประเทศไทย) และเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งพบในรอยเลื่อนโดยเฉพาะเขตภาคเหนือและภาคตะวันตก
        - น้ำ การเคลื่อไหวของน้ำสามารถกัดกร่อน กัดเซาะ และเคลื่่อนย้ายดิน หิน รวมถึงแร่ต่าง ๆ ในธรรมชาติก็ได้ ก่อให้เกิดภูมิประเทศที่หลากหลาย เช่น กุด ดินดอนสามเหลี่ยม





        -ลม  มีคุณสมบัติในการกัดกร่อน กัดเซาะ และเคลื่อนย้ายวัตถุได้เช่นเดี่ยวกับน้ำ รวมถึงเป็นตัวช่วยให้คลื่นและกระแสน้ำเปลี่ยนแปลงลักษณะทางธรรมชาติในทะเล ถ้าพื้นที่ใดมีหินไม่แข็งวางตัวอยู่ แรงจากเคลื่อนจะกัดเซาะจนกลายเป็นหน้าผาส่วนคลื่นที่ม้วนตัวเข้าหาฝั่ง จะนำพาตะกอนที่เซาะจากโขดกินไปสะสมเป็นสันทราย และสันดอนจะงอยตามฝั่งใกล้เคียง เช่น บริเวณหนองตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช 

  ๒) เกิดจากมนุษย์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์เป็นผู้กระทำซึ่งก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียควบคู่กันเช่น การใช้ดินถมแม่น้ำลอคลองเพื่อสร้างถนนสำหรับการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว 
การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อสร้างเขื่อนสำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง 
การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อสร้างรีสอร์ตหรือบ้านพักตากอากาศสำหรับเป็นแหล่งท่องเที่ยว



การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆของสังคมไทย

  •    ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

                     ราชบัณฑิตยสถาน (2524 : 337) อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การที่ระบบสังคม กระบวนการ แบบอย่างหรือรูปแบบทางสังคม เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบครอบครัว ระบบการปกครอง ได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้อาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไปได้อย่างถาวรหรือชั่วคราว โดยวางแผนให้เป็นไปหรือเป็นไปเอง และที่เป็นประโยชน์หรือให้โทษก็ได้ทั้งสิ้น



  •     การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

                     การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 คนไทยมีถีชีวิตที่เรียบง่าย เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนกระทั่งสังคมไทยได้รับอิทธิพลมากจากอารยธรรมตะวันตกมากยิ่งขึ้นในสมัยรัชการที่ 4 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว ต่อมาได้มีการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้สังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงแทบทุกด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านการปกครอง ด้านการศึกษา ด้านเทคโนโลยี เป็นต้น
                     เมื่อกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในสมัยปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงเกือบทุกด้านโดยเฉพาะหลังจากที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา ที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยมีการกำหนดทิศทางและแบบแผนมากขึ้น



  •      ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

           1. ปัจจัยภายใน
                1.1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ     สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ลักษณะของพื้นที่ ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยที่ช่วยกำหนดการจัดระเบียบและสภาพต่างๆ ในสังคม
                1.2 การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร     การเปลี่ยนแปลงเรื่องขนาดและการกระจายของประชากรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อาจะเกิดการรับเอาวัฒนธรรมไปใช้ หรือเกิดการผสมผสานกับวัฒนธรรมเดิมของตน

          2. ปัจจัยภายนอก
              2.1  สังคมที่อยู่โดดเดี่ยวและสังคมที่มีการติดต่อสมาคม     สังคมที่มีการติดต่อสมาคมกับบุคคลหรือกลุ่มต่างๆ บ่อยครั้ง จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมากและรวดเร็วในทำนองเดียวกันสังคมที่อยู่โดดเดี่ยวจะมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากหรือเกิดการคงที่ทางวัฒนธรรม
             2.2 โครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรม     สังคมที่มีการแข่งขัน จะมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมากกว่าสังคมที่มีแบบแผน หรือโครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรมในแบบเดียวกัน
             2.3 ทัศนคติและค่านิยมเฉพาะสังคม     สังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจะมีทัศนคติที่แตกต่างกันออกไป ทัศนคติและค่านิยมเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงไร เช่น ในสังคมที่ยึดมั่นขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมจะเป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยและช้ามาก ส่วนสังคมที่มีค่านิยมที่ส่งเสริมการยอมรับให้มีสิ่งใหม่ๆ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว
            2.4 ความต้องการที่รับรู้สิ่งใหม่ๆ     ความต้องการที่รับรู้สิ่งใหม่ๆ ของสมาชิกในสังคม เป็นปัจจัยที่ช่วยบอกทิศทางและอัตราการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น เมื่อมีความต้องการทีแน่นอนจนเป็นที่ยอมรับของสังคมแล้วก็จะมีาการตอบสนองต่อความต้องการนั้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในที่สุด
            2.5 พื้นฐานทางวัฒนธรรม     เมื่อพื้นฐานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนไป จะทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น ในปัจจุบันที่พื้นฐานทางวัฒนธรรมในด้านเทคโนโลยี หรือความรู้ทางวิทยาศาสตร์เจริญกว่าในอดีต ทำให้สามารถนำทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุต่างๆ มาใช้ในการผลิตสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้วิถีชีวิตของผู้คนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป

1. ด้านการเมืองการปกครอง
 ตั้งแต่สมัยสุโขทัยได้มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ต่อมาในสมัยอยุธยาเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจปกครองและบริหารราชการแผ่นดิน  ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มมีการรับอิทธิพลของชาติตะวันตกมา ใช้ตั้งแต่สมัยราชกาลที่  5  จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขโดยประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ร่วมกันเลือก นายกรัฐมนตรี จากบรรดาสมาชิกผู้แทนราษฎร เพื่อจัดตั้งเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ


2. ด้านเศษฐกิจ       
               ในสมัยสุโขทัยการดำเนินการทางเศษฐกิจจะเป็นลักษณะของการให้เสรีภาพประชาชนในเรื่องการค้าขาย  ประกอบอาชีพ มีการยกเว้นภาษี และมีการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน ต่อมาในสมัย อยุธยาเริ่มมีตัวแทนรัฐในการทำการค้ากับต่างชาติ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการติดต่อกับชาวต่างชาติ  โดยการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ  ทำให้เศษฐกิจขยายตัวมากขึ้นตั้งแต่  พ.ศ.2475  เป็นต้นมา  มีการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม  และจากการเปลี่ยนแปลง

ดังกล่าว ทำให้คนในสังคมมีการประกอบอาชีพที่หลากหลายขึ้น  ส่งผลให้สมาชิกในสังคมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


3. ด้านสังคม
          สังคมไทยนับตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน  นอกเหนือจากวัฒนธรรมของประเทศไทยเองแล้ว เรายังได้อิทธิพลจากวัฒนธรรมภายนอก  ที่เข้ามาผสมผสานอีกด้วย  กล่าวคือ  ในสมัยสุโขทัยสังคมไทยได้รับวัฒนธรรมหลักๆมาจากอินเดียและขอม โดยเฉพาะด้านศาสนา  แบบแผนการปกครองกฎหมาย โดยมีวัฒนธรรมจีนเข้ามาผสมผสานอยู่ในช่วงปลายสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยา นอกเหนือจากวัฒนธรรมอินเดีย ขอม  และจีนแล้วก็เริ่มมีวัฒนธรรมจากชาติตะวันตก  เช่น อังกฤษ  โปตุเกส  ฮอลันดาเข้ามาเผยแพร่  จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์  วัฒธรรมตะวันตก ได้เข้ามามีบทบาสำคัญต่อสังคมไทย  ทำให้ความสลับซับซ้อนของลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว






ภูมิปัญญาท้องถิ่น กับ กระแสการเปลี่ยนแปลง

       “ภูมิปัญญาท้องถิ่นก็เปรียบเสมือนน้ำที่อยู่ในหนอง ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการไหลเวียนน้ำนั้นก็จะเน่าเสีย แต่ถ้าหากมีน้ำใหม่ไหลเข้ามาเปลี่ยนน้ำเก่าก็จะเกิดการเคลื่อนไหวไหลเวียนไปในที่ต่าง ๆ ผู้คนก็จะได้ใช้น้ำนั้นตั้งแต่ต้นสายยันปลายสาย







ภูมิปัญญาไทย





วิวัฒนาการทางสังคมไทย


       สังคมไทยก่อนที่จะมีการบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีการบันทึกข้อมูลในลักษณะของตำนาน และเรื่องวิวัฒนาการของแต่ละสังคม คนไทยเข้ามาตั้งในสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นดินแดนของไทยในปัจจุบัน มีหลักฐานปรากฏพบชุมชนโบราณหลายแห่งในประเทศไทย เช่น อาณาจักรทวาราวดี อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรอีสานปุระ อาณาจักรตามพรลิงค์ เป็นต้น ต่อมาสามารถรวบรวมบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นมั่นคง เป็นอิสระและก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์

       ในบริเวณประเทศไทย ได้มีการพบหลักฐานทางโบราณคดีกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณประเทศไทยปัจจุบัน ซึ่งได้มีการศึกษาค้นคว้าและสรุปได้ว่าการเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ของประเทศไทยนั้นน่าจะเริ่มต้นในราวสมัยทวารวดี โดยมีการพบจารึกที่เก่าแก่ที่เป็นอักษรมอญในบริเวณจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นอารยธรรมที่เจริญขึ้นโดยมีพื้นที่บริเวณจังหวัดนครปฐมในปัจจุบันเป็นศูนย์กลางอารยธรรม แต่ในระยะเวลาใกล้เคียงกันทางภาคใต้ของประเทศไทยมีอาณาจักรอีกแห่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการค้าขายและท่าเรือที่สำคัญแห่งหนึ่งในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คืออาณาจักรศรีวิชัย ส่วนทางภาคอีสานของไทยก็เป็นทางผ่านของอารยธรรมขอมซึ่งต่อมาได้เจริญสูงสุดอยู่ในบริเวณจังหวัดลพบุรีปัจจุบัน จึงอาจถือได้ว่าเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็นสมัยลพบุรีขึ้น ขณะนั้นอารยธรรมทวารวดีดูเหมือนว่าจะเบาบางลงไปแล้วแต่ผลผลิตจากอารยธรรมดังกล่าวนั้นกลับขึ้นมามีบทบาทกับทางภาคเหนือแทน ทำให้เกิดเป็นอีกหนึ่งอารยธรรมคือหริภุญไชย

       หลังจากนั้นการก่อตัวของชุมชนเริ่มซับซ้อนมากยิ่งขึ้นทำให้จากเดิมที่เคยเป็นรัฐขนาดเล็กได้ขยายตัวและแพร่กระจายอำนาจมากขึ้น ในระยะนี้จึงได้เกิดเป็นอาณาจักรที่เรารู้จักดี คือ อาณาจักรล้านนา ซึ่งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ระยะใกล้เคียงกันมีอาณาจักรสุโขทัยอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง จนมาในช่วงปลายของสมัยสุโขทัยนั้นทางภาคกลางโดยมีอยุธยาเป็นศูนย์กลางนั้นเกิดสมัยอยุธยาขึ้นมา และในตอนหลังก็มีบทบาทและอำนาจเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี จนเกิดสงครามกับประเทศพม่าในช่วงปลายอาณาจักร และอาณาจักรนี้ก็ได้สูญสิ้นไป แต่ก็กลับมาก่อตั้งใหม่อีกครั้งในบริเวณกรุงเทพมหานครซึ่งถือว่าเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน

ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ไม่ได้มีอดีตแค่สุโขทัย หรืออยุธยาเท่านั้น แต่เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ชาติไทยมีมาก่อนหน้านั้นเป็นระยะเวลากว่าพันปีแล้ว


วิวัฒนาการทางสังคมไทย



ธรรมชาติของภาษา

        ภาษา  หมายถึง  เสียงที่เป็นคำพูดหรือถ้อยคำสำนวนที่ใช้พูดกัน  รวมทั้งกิริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ถูกต้องตรงกัน  แบ่งออกเป็น    ประเภทคือ

         ๑.  ภาษาที่เป็นถ้อยคำ หรือ วัจนภาษา  หมายถึงภาษาที่ใช้เสียงพูด หรือตัวอักษรที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาโดยตกลงกันให้ใช้เรียกแทนสิ่งของ ความคิด หรือมโนภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มนุษย์รับรู้จากประสาทสัมผัส

         ๒.  ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ  หรือ อวัจนภาษา  หมายถึง ภาษาที่เกิดจากกิริยาอาการต่างๆ  ที่แสดงออกมาทางร่างกาย หรือสัญลักษณ์ที่มองเห็นแล้วผู้อื่นเกิดความเข้าใจความหมายได้โดยไม่ต้องอาศัยภาษาพูดหรือภาษาเขียนเป็นสื่อ
ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความคิดระหว่างมนุษย์มาแต่โบราณ  ถ้าไม่มีภาษาสังคมมนุษย์ย่อมไม่สามารถพัฒนามาจนถึงปัจจุบันได้  ในโลกนี้มีภาษาอยู่ประมาณ ๔,๐๐๐  ภาษา  ลักษณะที่ถือว่าเป็นธรรมชาติของภาษามีดังนี้

            ๑.      ภาษาใช้เสียงสื่อความหมาย
มนุษย์แต่ละชาติมีการกำหนดเสียงที่ใช้สื่อสารกันเพื่อสื่อความหมาย  ภาษาจึงเป็น
สิ่งที่สังคมร่วมกันกำหนดขึ้นที่จะให้เสียงใดมีความหมายอย่างใด เสียงในภาษาแต่ละภาษาจึงต่างกัน  เช่น  เสียงในภาษาไทยประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์  ในขณะที่เสียงในภาษาอังกฤษจะไม่มีเสียงวรรณยุกต์  เป็นต้น

           ๒.    หน่วยในภาษาประกอบกันเป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้นได้
ภาษาประกอบด้วยหน่วยต่างๆ เรียงจากหน่วยที่เล็กไปเป็นหน่วยที่ใหญ่ได้ดังนี้

                   ๒.๑  เสียง เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในภาษา  แบ่งเป็น เสียงพยัญชนะ เสียงสระ เสียง  วรรณยุกต์

                   ๒.๒  พยางค์  เกิดจากการนำหน่วยเสียงในภาษามาประกอบกัน อาจมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้

                   ๒.๓  คำ  เกิดจากพยางค์ที่ได้กำหนดความหมาย เมื่อกำหนดความหมายให้พยางค์นั้นก็จะกลายเป็นคำใช้สื่อสารได้

                   ๒.๔  กลุ่มคำหรือวลี  เกิดจากการนำคำมาประกอบกันตามหลักการใช้ถ้อยคำของแต่ละภาษา เช่น  เสื้อยืดสีดำ   เป็นกลุ่มคำ ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ เสื้อยืดและสีดำ

                  ๒.๕  ประโยค  เกิดจากการนำคำมาเรียงลำดับกันตามระบบทางภาษาแต่ละภาษาแล้วได้ใจความสมบูรณ์ ประโยคสามารถขยายให้ใหญ่ขึ้นได้โดยการเติมคำขยาย 

       ๓.     ภาษามีการเปลี่ยนแปลง
                ภาษาที่ไม่มีการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเราเรียกว่า ภาษาตาย”  ซึ่งจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก เช่น ภาษาสันสกฤต  ภาษาละติน  การศึกษาภาษาที่ตายแล้วเป็นการศึกษาเพื่อหาความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อรู้เรื่องราวที่เขียนด้วยภาษานั้นๆ มิใช่เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน  สำหรับภาษาที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวันย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเพราะการใช้ของมนุษย์นั่นเอง  การเปลี่ยนแปลงจะค่อยเป็นค่อยไปและใช้ระยะเวลานาน  เราจึงไม่ค่อยรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลง สาเหตุที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลง  เช่น

                ๓.๑   ธรรมชาติของการออกเสียง  การพูดในชีวิตประจำวันทำให้เกิดลักษณะต่างๆ ได้  เช่น
                                   ก.  การกลมกลืนเสียง  เช่น
                                           อย่างนี้              ð       ยังงี้
                                           อย่างไร             ð       ยังไง

                                    ข.  การกร่อนเสียง  เช่น
                                           ฉันนั้น             ð       ฉะนั้น
                                           หมากพร้าว     ð       มะพร้าว

                                    ค.  การตัดเสียง  เช่น
                                            อุโบสถ             ð       โบสถ์
                                            ศิลปะ               ð       ศิลป์

                                     ง.  การกลายเสียง  เช่น
                                            สะพาน              ð       ตะพาน
                                            สภาวะ               ð       สภาพ

                                     จ.  การเพิ่มเสียง  เช่น

                                            ผักเฉด              ð       ผักกระเฉด
                                            ลูกดุม                ð       ลูกกระดุม

                                    ฉ.  การสลับเสียง  เช่น
                                             ตะกร้า              ð       กะต้า
                                             ตะไกร              ð       กะไต

            ๓.๒    การเรียนภาษาของเด็ก  เด็กที่เริ่มเลียนแบบเสียงพูดของผู้ใหญ่มักออกเสียงไม่ตรงกับผู้ใหญ่   เช่น    พ่อ  มักออกเสียงเป็น    ป้อ              คุณลุง   มักออกเสียงเป็น    จุนลุง

                ๓.๓   ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมสภาพวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทั้งความเป็นอยู่ อาชีพ การคมนาคม  การศึกษา ทำให้เกิดคำต่างๆ ขณะเดียวกันคำที่คนรุ่นใหม่ไม่ได้ใช้เพราะไม่เกี่ยวกับ วิถีชีวิตก็เริ่มสูญหายไป  เช่น  การประกอบอาหารที่มีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ามาอำนวยความสะดวกทำให้คุณรุ่นใหม่ไม่เข้าใจความหมายของคำว่า ดงหม้อ

                ๓.๔   อิทธิพลของภาษาอื่น การติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร  การพัฒนาทางการศึกษา  การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ความก้าวหน้าทางวิชาการ วิชาชีพใหม่ๆ ทำให้มีการยืมคำภาษาต่างๆ  มาใช้  เช่น  คนรุ่นก่อนไม่รู้จักคำว่า หน่วยกิต  เกรด สอบซ่อม  รู้แต่เพียง  คะแนน  สอบได้  สอบตก 

        ๔.     ภาษาต่างๆ มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน  แม้ว่าแต่ละภาษาจะมีความแตกต่างกัน แต่ก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันอยู่บ้างหลายประการ  ดังนี้

                 ๔.๑  สามารถสร้างศัพท์ใหม่จากศัพท์เดิมได้  โดยอาจเปลี่ยนแปลงศัพท์เดิมหรือนำศัพท์คำอื่นมาประสมกับศัพท์เดิม  เช่น ภาษาไทยมีการประสมคำ ซ้อนคำ ซ้ำคำ  ภาษาอังกฤษมีการเติม Prefix  Suffix  Infix  เป็นต้น
                ๔.๒  มีสำนวนและมีการใช้คำในความหมายใหม่  เช่น  ในภาษาไทยมีการใช้คำว่า สีหน้า”  ซึ่งมิได้หมายถึง สีของหน้า แต่หมายถึงการแสดงออกทางดวงหน้า  หรือในภาษาอังกฤษมีคำว่า “hot air”  ซึ่งไม่ได้หมายความว่าอากาศร้อน แต่หมายถึงเรื่องไม่จริง 
                 ๔.๓  มีชนิดของคำคล้ายกัน  เช่น  คำนาม คำขยายคำนาม  คำกริยา คำขยายกริยา 
                 ๔.๔  มีวิธีการขยายประโยคให้ยาวออกไปได้เรื่อยๆ
                 ๔.๕  มีวิธีแสดงความคิดคล้ายกัน  เช่น  ทุกภาษาต่างมีประโยคที่ใช้ถาม ปฏิเสธ หรือใช้สั่ง
                 ๔.๖  มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

       ๕.    ภาษาย่อมมีส่วนประกอบที่เป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน   ภาษาทุกภาษาจะต้องมีระบบระเบียบแบบแผน โดยทั่วไปแล้วภาษามีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ สัญลักษณ์ คำ  ประโยค และความหมาย  ทุกส่วนประกอบเหล่านี้  ต้องอยู่ร่วมกันอย่างเป็นระบบ ตามระเบียบแบบแผนของภาษาจึงจะทำให้เกิดเป็นภาษาที่สมบูรณ์





การเปลี่ยนแปลงของบ้านเรือนไทย
จากอดีตจนถึงปัจจุบัน

former

บ้านเรือนในสมัยอดีต

      ในอดีตชีวิตของคนไทย ล้วนผูกพันอยู่กับแม่น้ำ ในการปลูกบ้านสร้างเรือนก็ต้องเลือกปลูกในทำเลซึ่งใกล้แม่น้ำและวัด ส่วนมากก็ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเช่นกัน บางแห่งถ้าน้ำเข้าไปไม่ถึง ชาวบ้านก็จะช่วยกันขุดคลองเพื่อให้เป็นทางน้ำไหลผ่านได้ เพราะฉะนั้นในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ เราจะเห็นว่ามีแม่น้ำลำคลองมากมายที่ยังอยู่มาจนถึงปัจจุบัน การสร้างเรือนไทยในอดีตส่วนมากเป็นการสร้างเพื่ออยู่อาศัย มีลักษณะเป็นบ้านไม้ ยกใต้ถุนสูง เพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก และช่วยป้องกันน้ำท่วม อีกทั้งยังยังนิยมปลูกบ้านกันเป็นหมู่ ถ้าสมติว่าลูกโตจนแต่งงานได้แล้ว ก็จะสร้างบ้านใกล้ๆกันขึ้นมาเพื่อแยกเป็นสัดส่วนแต่ยังมีความใกล้ชิดกันอยู่

       ลักษณะของบ้านเรือนไทยในอดีตแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนโบราณ ทั้งการปลูกบ้านและการออกแบบ ที่ เป็นแบบบ้านที่มีความสวยงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บ้านเรือนไทยจึงกลายมาเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ประจำชาติ รวมทั้งเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาอันน่าภูมิใจ ลักษณะอีกอย่างของบ้านเรือนไทย ก็คือ รูปทรงบ้านซึ่งมีระเบียบไม่ซับซ้อน บริเวณหน้าเรือน จะเป็นพื้นที่โปร่งรับลม นอกจากนี้อาจจัดมุมใดมุมหนึ่งของนอกชานเป็นที่อาบน้ำแบบ Out Door ก็ได้




   present


บ้านเรือนในปัจจุบัน



        พอกาลเวลาเปลี่ยนไป หลายๆ สิ่งก็เปลี่ยนตาม แน่นอนว่าบ้านเรือนไทยแบบในสมัยโบราณก็เริ่มมีการเปลี่ยนอันเนื่องมากจากการรับวัฒนธรรมมาจากต่างประเทศ การปลูกสร้างบ้านเรือนไทยสำหรับคนไทยในยุคปัจจุบัน จะมีการประยุกต์อาคารบ้านเรือนไทยให้เข้ากับประโยชน์ใช้สอย วัสดุจะต้องหาง่าย มีราคาถูก เพื่อเป็นการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยสืบต่อไป ส่วนการสร้างบ้านเรือนไทยตามแบบฉบับดั้งเดิมนั้นจะลดน้อยลง เหลืออยู่เพียงไม่กี่ที่เท่านั้น ทำให้ส่วนใหญ่เป็นบ้านปูนหรือเป็นตึกสูงอย่างคอนโดมากกว่า พอความเจริญเข้ามา ถนนหนทางก็ปูทางไปทุกหย่อมหญ้า สามารถเดินทางได้ด้วยรถยนต์ด้วยความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้ไม่จำเป็นต้องปลูกบ้านริมน้ำอีกต่อไป แต่จะปลูกตรงไหนก็ได้ และจากสมัยก่อนที่ดินแถวริมน้ำมีค่าดั่งทองคำ แต่สมัยนี้ทองคำนั้นกลับเปลี่ยนเป็นผืนดินที่อยู่ใจกลางเมืองแทน ซึ่งเป็นย่านธุรกิจ อันเนื่องมาจากการที่ วิถีชีวิต สภาพความเป็นอยู่ของคนไทยเปลี่ยนไปนั่นเอง รวมทั้งเรื่องของความสะดวกสบายในการเข้าอยู่อาศัยอย่างเช่น โฆษณาที่เราชอบเห็นตามคอนโดมิเนียม สามารถสะท้อนค่านิยมของคนในสังคมได้ ว่าสังคมสมัยใหม่นิยมความสะดวกสบาย รวมทั้งไม่ค่อยพิถีพิถันในการจัดเตรียมสิ่งของต่างๆ แตกต่างจากคนไทยในอดีตซึ่งมีความประณีต เรียบร้อยและใส่ใจในรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว

บ้านเรือน  




การแต่งกายในอดีต ถึง ปัจจุบันของคนไทย



       



การแต่งการของวัยรุ่นไทยในอดีต

           การแต่งกายถือได้ว่าเป็นสิ่งที่บ่งบอกคุณลักษณะหรือค่านิยมในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้เป็นอย่างดี และประเทศไทยเองก็มีประวัติศาสตร์ที่ยืนยาวมานานหลายร้อยปี นั่นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่การแต่งกายของคนไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยที่ควรจะเป็น โดยวันนี้เราจะมาบอกเล่าเรื่องราวของการแต่งกายของคนไทยตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงยุคปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

ยุคเชียงแสน – ถือว่าเป็นยุคก่อนที่จะเป็นประวัติศาสตร์ของคนไทย และด้วยความที่คนไทยอาศัยในเขตร้อน ผู้หญิงจะนุ่งซิ่น และการทอผ้าก็จะมีการประดับประดาลายต่างๆ เอาไว้อย่างสวยงาม นอกนั้นก็มีการเกล้าผมสูง เป็นต้น ส่วนผู้ชายก็ไม่มีอะไรมากด้วยการผ้าทั่วไป
ยุคสุโขทัย – เริ่มเป็นยุคที่ประเทศไทยมีการบันทึกประวัติศาสตร์เอาไว้ เนื่องจากเป็นยุคที่มีการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น ในยุคนี้อิทธิพลของพวกมอญและพวกพราหมณ์เข้ามาสู่คนไทยและการแต่งกายมากขึ้น ผู้หญิงเริ่มไว้ผมเกล้าสูง หรือที่เรียกกันว่า โองขโดง โดยรวบผมไปถึงกลางกระหม่อมมีพวงมาลัยสวม ระดับสนมหรือกำนันแต่งแบบกรัชกายห่มผ้าลิขิตพัตร์ หรือมีการประดับด้วยเสือผ้าอาภรณ์ต่างๆ ส่วนผู้ชายก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมาก
ยุคอยุธยา – ด้วยความทีอยุธยาเป็นราชธานีของประเทศไทยมายาวนานถึง 417 ปี นั่นทำให้การแต่งกายถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลักๆ คือ ในช่วงต้นยุค จะมีการแต่งตัวไม่ได้ต่างไปจากยุคสุโขทัยมากนัก มีความผสมปนเปในด้านวัฒนธรรมหลายๆ พื้นที่เข้าไว้ด้วยกัน ทั้งอารยธรรมจากลพบุรี อารยธรรมสุโขทัย อารยธรรมฝ่ายเหนือ นั่นทำให้ในช่วงแรกมีการแต่งกายค่อนข้างหลากหลาย พอมาในยุคหลัง ผู้หญิงจะนิยมนุ่งสไบ เกล้ามวยบนศีรษะ บางคนสวมเสื่อบาง กับนุ่งโจงกระเบน ส่วนผู้ชายจะนิยมไว้ ทรงมหาดไทย นุ่งผ้าโจง ไม่ค่อยสวมเสื้อ เว้นแต่ว่าจำเป็นต้องไปงานพิธีสำคัญเท่านั้น
ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น – ก็ยังคงได้รับอิทธิพลมาจากยุคอยุธยา จนกระทั่งมาในช่วงรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เริ่มที่จะมีการติดต่อทางการทูตกับต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ได้รับอิทธิพลตะวันตกมากขึ้น ผู้ชายเริ่มใส่เสื้อ สวมรองเท้า ผู้หญิงห่มสไบ ใส่เสื้อแขนกระบอก และเริ่มมีการแต่งกายแบบยุโรปมากขึ้นตามลำดับ
ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 – เป็นยุคที่นิยมแต่งตัวแบบตะวันตกอย่างชัดเจน มีการกำหนดชุดตามความสำคัญต่างๆ มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีการสวมหมวกและต้องใส่เสื้อเวลาออกไปไหนมาไหน รวมไปถึงต้องสวมรองเท้าด้วย
ยุคปัจจุบัน – ในยุคนี้ถือว่าเป็นยุคแห่งอิสระทางการแต่งกายอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะวัฒนธรรมแบบไหนก็สามารถที่จะสวมใส่ได้ มีแฟชั่นต่างๆ เกิดขึ้นมากมายในประเทศไทย







การแต่งกายของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน


                ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมประจำชาติที่เป็นของตนเองมาเป็นระยะเวลายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นศิลปะไทย มารยาทไทย 
                ภาษาไทย อาหารไทย และชุดประจำชาติไทยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีคุณค่า มีความงดงามบ่งบอกถึงเอกลักษณ์แห่งความเป็น "ไทย" ที่นำความภาค
ภูมิใจมาสู่คนในชาติ 
                การแต่งกายของไทยโดยเฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ซึ่งมีอายุยาวนานมากกว่า 200 ปีนั้น ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับนับตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง ยุคเริ่มการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือ ยุค "มาลานำไทย" และ จนปัจจุบัน "ยุคแห่งเทคโนโลยีข่าวสาร"
                 แต่ละยุคสมัยล้วนมีรูปแบบการแต่งกายที่เป็นของตนเองซึ่งไม่อาจสรุปได้ว่า แบบใดยุคใดจะดีกว่า หรือ ดีที่สุด เพราะวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม ล้วนต้องมีการปรับเปลี่ยนบูรณาการไปตามสิ่งแวดล้อมของสังคมแล้วแต่สมาชิกของสังคมจะคัดสรรสิ่งที่พอเหมาะพอควรสำหรับตน พอควรแก่โอกาส สถานที่และกาลเทศะ
                ในสมัยปัจจุบันนี้แนวการแต่งตัวของเด็กไทยได้เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อนนั้นอยู่มากหากย้อนอดีตไปการแต่งตัวของเด็กไทยจะอิงตามแฟชั่นกระแสหลัก หรือตามนักร้อง - นักแสดงที่โด่งดังราวกลับเดินออกมาจากปกเทปหรือนิตยสารแล้ว copy & paste  ออกมา ดูแล้วคล้ายสินค้าจากโรงงานผลิตเดียวกัน ทว่าตอนนี้  การแต่งตัวของเด็กไทยมีอยู่มากมายหลายแนวมากขึ้น มีความหลากหลายทางเทรนด์ให้เด็กไทยเราได้เอาตัวตนเข้าไปอิงในเทรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ รับอิทธิพลการแต่งตัวมาจากฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก  ทำให้เด็กไทยมีทางเลือกในการแต่งตัวที่มากขึ้น บางคนชอบแนวทางแต่งตัวจากฝั่งตะวันตก ก็จะแต่งตัวตามแบบตะวันตก บางคนชอบแนวทางแต่งตัวจากฝั่งตะวันออก ก็จะแต่งตัวตามแบบตะวันออก  มีแนวการแต่งตัวหนึ่งแนวที่อยากนำเสนอนั้นคือ  แนวการแต่งตัวของประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลี ตามกระแสความนิยมในญี่ปุ่นและเกาหลีเรื่องอื่นๆอีก เช่น การดื่มน้ำชาเขียว กินปลาดิบ เป็นต้น
                กระแสความนิยมญี่ปุ่นและเกาหลีนั้นมีมาตั้งนานเกือบๆ 10 ปีแล้ว ในช่วงต้นๆ กระแสนี้ยังไม่แพร่หลายมากนัก จะมีแค่กลุ่มย่อยๆมากกว่า กลายเป็นกลุ่มที่มีลักษณะเพาะตัว เฉพาะบางข้อจำกัดเท่านั้นที่มีอำนาจในการเข้าถึงกระแสดังกล่าว  แต่เมื่อเวลาผ่านไป กลุ่มย่อยๆนั้นกล่าวก็ได้ขยายวงกว้างออกไปจนทำให้มีผู้รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ และตอนนี้กระแสความนิยมญี่ปุ่นและเกาหลีได้เป็นที่รู้จักกันไปทั่วแล้ว
                การที่เด็กไทยนั้นได้รับอิทธิพลการแต่งตัวแบบเด็กญี่ปุ่นและเกาหลีนั้น ทำให้นั้นเกิดการเลียนแบบและพยายามทำตัวให้เหมือนเด็กญี่ปุ่นและเกาหลี เนื่องจากเกิดจากการเทียบทางวัฒนธรรม และต้องการเป็นในแบบที่เชื่อว่าอยู่ในวัฒนธรรมที่มีชนชั้นที่สูงกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้วการแต่งตัวของเด็กญี่ปุ่นและเกาหลีที่อยู่ในประเทศของต้นแบบนั้นจริงๆ นั้นมีการแต่งตัวที่มีสไตล์การแต่งตัวที่หลายหลายมากกว่าที่เด็กไทยประเทศไทยบริโภคอยู่มาก การที่เด็กไทยรับสไตล์การแต่งตัว มานั้น ยังถือว่าน้อยอยู่ในตอนนี้  เป็นแค่เพียงการเลียนแบบเฉพาะบางส่วน และค่อนข้างเป็นสภาวะไร้ราก กล่าวคือเป็นการ copy  ในส่วนของรูปแบบ แต่ไม่ได้ศึกษาถึงกระบวนการสร้างความเป็นญี่ปุ่นและเกาหลี อย่างไรก็ตามเด็กไทยก็มีแนวโน้มว่าจะรับเอาสไตล์การแต่งตัวของเด็กญี่ปุ่นและเกาหลีเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต 
             การแต่งกายของวัยรุ่นในปัจจุบัน ถูกมองว่าน่าเกลียด ฝ่าฝืนจารีตประเพณี โดยเฉพาะการแต่งกายของวัยรุ่นหญิงที่นุ่งประโปรงสั้น ใส่เสื้อรัดรูป เกาะอก วัยรุ่นชายทำสีผม เจาะหู เจาะลิ้น เจาะคิ้ว ลักษณะการแต่งกายเหล่านี้อาจดูประหลาด ขัดหูขัดตาผู้ใหญ่ หลายคนอาจถามว่าวัยรุ่นไทยแต่งตัวเหมาะสมหรือไม่ ถูกกาลเทศะหรือไม่ เลียนแบบตะวันตกหรือไม่ ทำลายวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย ซึ่งเป็นการยอมรับวัฒนธรรมที่ผิดๆ  ของชาวต่างชาติเข้ามา  ในปัจจุบันเป็นปัญหาระดับชาติที่เราจะต้องนำมาคิดและพิจารณาว่าจะแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้อย่างไร  เยาวชนคือผู้ที่จะต้องรักษาวัฒนธรรมสืบต่อไป  จะเป็นอย่างไรถ้าเรารับแต่วัฒนธรรมที่ผิด  และลืมวัฒนธรรมของไทยเราเอง





การแต่งการของวัยรุ่นปัจจุบัน



การละเล่นของไทย

       à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ การเปลี่ยนแปลงของการละเล่น 



การละเล่นของเด็กไทยในอดีต


     ของเล่นของเด็กไทยในอดีตมักนำมาจากวัสดุธรรมชาติในชุมชนนั้น ๆ เช่นลูกหินใช้เล่นหมากเก็บ ก้านกล้วยใช้เล่นม้าก้านกล้วย หรือ ปืนกล ใบไม้ใบหญ้าใช้เล่นหม้อข้าวหม้อแกง ดิน สามารถนำมาปั้นวัวปั้นควายเล่นได้สนุกสนาน หรือแม้แต่สะตว์เช่น ด้วงกวาง แมงทับ หรือลูกอ๊อต เด็กก็สามารถนำมาเป็นของเล่นได้ แม้จะบาปไปสักหน่อย แต่ก็ช่างเถอะ ใครจะสน ตอนนั้นเรายังเด็กนี่นา ทั้งมวลเรียกว่าของเล่นพื้นบ้าน

       บ่อยครั้งเราใช้วัสดุเหลือใช้นำมาสร้างของเล่นเช่น ไม้ไอติม นำมาสร้างเรือปั่นพลังหนังยาง หนังยางมัดแกง นำมาเล่นเป่ากบ เศษกระดาษนำมาพับจรวด เป็นการไรไซเคิลนับตั้งแต่ประเทศยังไม่รณรงค์เรื่องนี้ด้วยซ้ำ อย่าว่าไป ไอ้จรวดกระดาษพวกเราทำเล่นกันจนเกลื่อนกลายเป็นการสร้างขยะเพิ่ม แต่อย่างว่า ใครจะสน ก็มันสนุกนี่นา

       ของเล่นเช่นหมากเก็บ หรือการละเล่นเช่น งูกินหาง การเล่นตบมือ จะมีเพลงประกอบเพื่อความรื่นเริง ฝึกประสาทสัมผัส ของเล่นเช่นหม้อข้าวหม้อเกง เด็กจะจินตนาการสร้างเรื่องราวตามการเล่นไปด้วย นับว่าเป็นการสร้างภูมิปัญญาและความรู้มากมาย
ที่สำคัญ การเล่นจะไม่เน้นการแพ้ชนะเอาเป็นเอาตาย เป็นเพียงการฆ่าเวลา เช่นเมื่อผู้ใหญ่ไปทำบุญ ฟังธรรม หรือไปพบปะญาติพี่น้อง ลูกหลานแม้จะเพิ่งรู้จักกันก็สามารถจะรวมตัวกันเล่นได้ทันที เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีงาม

          สามารถกล่าวได้ว่า ของเล่น คือวัฒนธรรมทางวัตถุที่สำคัญที่มีผลต่อชีวิตในวัยเด็กของคนทุกคน สามารถส่งผลต่อความคิดในวัยผู้ใหญ่ได้ อีกทั้งการละเล่นต่าง ๆ ที่ต้องใช้เพลงประกอบ หรือมีเรื่องราวประกอบมีความสำคัญอย่างยิ่งในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณี ปรัมปราคติจากอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างแยบยล และหลายครั้งเด็กสามารถประยุกต์การเล่น ของเล่น จนเกิดการเล่นใหม่ ของเล่นใหม่ ถือเป็นนวัตกรรมใหม่อีกด้วย
หลักจากการแพร่กระจายจองวัฒนธรรมตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ของเล่นก็เข้ามาพร้อมกับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะพ่อค้า ของแบบใหม่ก็เข้าเช่นผลิตจากโลหะเช่นสังกะสี เหล็ก พลาสติก ของเล่นบางชิ้นยั่วน้ำลายเด็กด้วยการแถมในขนม เช่นลูกลอกโดเรม่อน ในขนมโดเรม่อน แถมยังมีสมุดสะสมแรกของรางวัลอักด้วย ยางอย่างแถมจากเครื่องแบบนักเรียน เช่นตัวเด่งเหมือนสปริงยืดหยุ่นบนผ่ามือลงบันไดได้ที่แถมจากรองเท้า เป็นต้น เรื่อยมาจนถึงของเล่นอิเล็กโทรนิคผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน

          ปัจจุบัน สังคมเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลว หลายอย่างดีขึ้น แต่ทัศนคติคนเลวลง ไม่ว่าจะเป็นเกมส์ออนไลน์ที่นิยมความรุนแรง ฆ่ากันเลือดสาด การใช้สูตรโกงเกมส์ ขาย Item เพิ่มความสามารถ ทั้งมวลทำให้เด็กรุ่นใหม่ ไม่มีการรอ ไม่อดทน ไม่รู้จักขั้นตอน ไม่เคารพกติกา ไม่สนการแพ้ชนะ ไม่เคารพความแตกต่าง เห็นแก่ตัว โกง เอาใหม่ ใข้ความรุนแรง ความสัมพันธ์จอมปลอม สนทนาผ่านแชทไม่เห็นหน้าทำให้ไม่รู้จักรุ่นพี่รุ่นน้อง ไม่เคราพความอาวุโส หลอกลวงทั้งรูปที่ต้องผ่าหลาย App กว่าจะโพสได้ โพสข้อความด่าทอ เหยียดหยามลบหลู่ ดูหมิ่นกันผ่านหน้าจอ แทบไม่เหลือความเป็นคน และเป็นพื้นฐานสำคัญของการเกิดปัญหาทางสังคมในอนาคต



        

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง





        
การละเล่นของเด็กไทยในปัจจุบัน

     ต้นเหตุคงเป็นเพราะ การนำเทคโนโลยีจากต่างชาติ เข้ามามากเกินไป การนำเข้าของเกมส์วีดีโอ หนัง การนำสื่อต่างๆ จากต่างชาติเข้ามามากเกินไป และนอกจากนั้น อาจเป็นเพราะสังคม การเปลี่ยนแปลงไป ตามฐานะ และเศรษฐกิจของครอบครัว 
        ดังนั้นการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนจึงค่อยๆ เลื่อนหายไป และนี่คือความเป็นจริง ที่น่าเป็นห่วง เช่นเดียวกับประเพณีของไทยอีกหลาย ๆ อย่างที่ว่าอาจจะเริ่มหายไป ตามยุคสมัยที่ค่อยๆ ผันแปรไปเรื่อยๆ การเปลี่ยนแปลงของความเป็นอยู่ที่ แตกต่างไปจากวิถีการดำรงชีวิตเมื่อในอดีตที่ผ่านมา การละเล่นของเด็กไทยในสมัยก่อน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่กำลัง เลื่อนหายไปทีละน้อยๆ จนเกือบจะสูญหายไปหมดแล้ว เช่น กาฟักไข่ เขย่งเก็งกอย ตั้งเต ตี่ ขี่ม้าส่งเมืองขี้ตู่กลางนา เตย งูกินหาง ช่วงชัย ชักเย่อ ซ่อนหา มอญซ่อนผ้า ไอ้โม่ง รีรีข้าวสาร ฯลฯ
     น่าเสียดายที่ว่าในปัจจุบันของเล่น เกมส์วิดีโอต่าง ๆ สื่อ จากวิดีโอ โทรทัศน์ ต่างๆ มากมาย เทคโนโลยีต่างๆหรือวัฒนธรรมจากชาวต่างชาติ มากมายได้เข้ามาแทนการละเล่นไทยต่าง ๆ ของเด็กไทยในสมัยก่อน ทั้งที่การละเล่นบางอย่าง แทบจะไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรเลย หรือถ้ามีก็จะเป็นอุปกรณ์การเล่นที่ประดิษฐ์มาจากธรรมชาติ หรือของใช้ในครัวเรือน หรือไม่ก็คิดประดิษฐ์กันเอาเองไม่ต้องไปซื้อหา ไม่ต้องใช้เงินแพงๆ ไปซื้อมา แต่ในสมัยนี้กลับต้องใช้เงินแพง เพื่อที่จะซื้อวีดีโอเกมส์ โทรศัพท์แพงๆ
        ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือสิ่งที่เข้ามาแทนที่การละเล่นของเด็กไทย นั้น จะมาปั่นทอน ความคิด และสมองของเด็กไทยในสมัยนี้ ทำให้เด็กไทยไม่ได้ คิดอะไรที่สร้างสรรค์ และสร้างเสริมความคิดของคนเอง เพราะถูกกดสมองจาก วีดีโอเกมส์ และสื่อต่างๆ จากโทรทัศน์ จากการที่เคยวิ่งเล่น วิ่งไล่จับในที่กว้างๆ หรือการที่เคยเล่น การละเล่นต่างๆ ของไทย กลับกลายเป็นการนั่งขด อยู่หน้าจอสี่เหลี่ยม ตลอดเวลา จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ทำไม สมัยนี้มักไม่ค่อยได้พบเห็นเด็กไทยมาเล่น การละเล่นของไทยเก่าๆ นี้กันบ่อยนัก เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไป


การละเล่นของเด็กไทยในปัจจุบัน




การทำอาหารสมัยก่อนกับการทำอาหารในปัจจุบัน



make-food-




สมัยก่อน
       ประเทศไทยในสมัยก่อน เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ในทางด้านทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่า เป็นอู่ข้าวอู่น้ำหล่อเลี้ยงคนทั้งประเทศ คนไทยสมัยก่อนมีความคิดในการทำอาหารอย่างสร้างสรรค์ มีการนำพืชผักสมุนไพรที่หาได้ง่าย มาปรุงให้เป็นเมนูอาหารอันโอชะรับประทานภายในครอบครัว วิถีการใช้ชีวิตของคนไทยในอดีตสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ  ที่คนไทยในสมัยก่อนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุยืน ไม่เจ็บป่วยง่าย ก็เพราะนำสมุนไพรในท้องถิ่น ซึ่งมีสรรพคุณในการรักษาโรค รวมทั้งเป็นสมุนไพรบำรุงร่างกายมาปรุงเป็นอาหารอีกด้วย ในสมัยโบราณ ครอบครัวไทยจะนั่งทานอาหารกับพื้น ใช้ผ้าสะอาดๆ หรือเสื่อปูรองก้น สมาชิกภายในครอบครัวก็จะนั่งล้อมวงกัน คดข้าวใส่จาน วางสำรับอาหารไว้ตรงกลางวง มีช้อนกลางของแต่ล่ะถ้วย เพื่อความสะอาดของกับข้าวและกินอาหารด้วยมือ ด้วยท่าทางสุภาพ ไม่มูมมาม ยัดๆ เข้าไป โดยมีขันหรือจอกน้ำ เตรียมใช้ล้างมือจากการที่มีเศษข้าว เศษอาหารติดด้วย
      ในสมัยสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองของประเทศไทย ได้มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศมากขึ้น ไม่ว่าจะทั้งชาวตะวันตกหรือชาวตะวันออก จากบันทึกของชาวต่างชาติเหล่านี้ จึงพบว่าคนไทยทำอาหารกินกันในครัวเรือนเป็นกิจวัตร กินอาหารแบบเรียบง่าย และยังคงมีเนื้อปลาเป็นเนื้อสัตว์หลัก เน้นทั้งอาหารต้มและแกงต่างๆ การทำอาหารไทยในสมัยก่อนต้องเป็นคนที่มีใจรักจริงๆ เพราะอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เครื่องไม้เครื่องมือยังไม่มีเหมือนสมัยนี้ ต้องใส่ใจทำทุกขั้นตอนแบบห้ามพลาด ถือว่าเป็นเสน่ห์ปลายจวักที่ยากหาใครมาเทียม

make-foods

ปัจจุบัน
     ในปัจจุบันด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าทั้งชายหรือหญิงล้วนต่างออกมาทำงานหาเงินนอกบ้าน แค่ทำงานวันทั้งวันก็หมดเวลาแล้ว เพราะฉะนั้นคนในสมัยนี้ต้องพึ่งอาหารสำเร็จรูปอย่างแกงถุง ข้าวแช่แข็งหรือฝากท้องไว้กับร้านอาหารต่างๆ ถ้าถามว่ายังมีคนทำกับข้าวอยู่ไหมก็ต้องตอบได้เลยว่า ยังมีอยู่เพียงแต่อาจมีฝีมือไม่ถึงขั้น ทำแค่พอทานได้ ไม่ได้เลิศรสอะไร เพราะสมัยนี้มีตัวช่วยในการทำอาหารเยอะมาก เช่น ผงต้มยำ, กะทิกล่อง, ผงลาบ เป็นต้น อาจไม่ได้เหมือนสูตรตำหรับโบราณแบบแป๊ะๆ นอกจากนี้ค่านิยมการบริโภคอาหารของคนไทยในปัจจุบันส่วนมาก ล้วนใช้วิถีชีวิตการกินอาหารประเภทอาหาร fast food ซึ่งรับมาจากวัฒนธรรมแบบตะวันตก การบริโภคอาหารเหล่านี้เป็นประจำ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงในการที่จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น ไขมันในเส้นเลือด, โรคเก๊า , โรคอ้วน เป็นต้น 

อาหาร